เป็นส่วนสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานโรค ชะลอความโรยรา
หนังสือพิมพ์เดอะไทม์สฉบับออนไลน์ของอังกฤษรายงานผลการศึกษาล่าสุดซึ่งพบว่า
การออกกำลังกายนั้นช่วยให้ระบบชีวภาพของร่างกายคนเราแข็งแรงหรือคงสภาพดีเหมือนเมื่อมีอายุอ่อนกว่าอายุที่เป็นจริงสูงสุดถึง 9 ปี
ทั้งนี้นักวิจัยกล่าวว่าผลการวิจัยนี้อาจช่วยให้คำอธิบายว่าทำไมคนที่ออก
กำลังกายถึงมีภูมิต้านทานต่อโรค เป็นต้นว่า โรคหัวใจ โรคเบาหวาน มะเร็ง
และโรคที่มาพร้อมกับวัยที่โรยราชนิดอื่นๆ ได้
ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าการออกกำลังกายทำให้ร่างกายคนเรามีความอ่อนเยาว์กว่า
วัยโดยสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
สำหรับทีมนักวิจัยที่ทำการศึกษาล่าสุดนี้เป็นทีมจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง
คิงส์คอลเลจในประเทศอังกฤษ
โดยทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาลึกลงไปในระดับโมเลกุล เพื่อศึกษาดู telomeres
ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นนาฬิกาชีวภาพของร่างกายและเป็นเหมือนตัวปกป้องความเสีย
หายและเสื่อมโทรมต่อโครโมโซมร่างกาย
จากนั้นจึงวัดออกมาว่าคนแต่ละคนมีอายุทางชีวภาพของร่างกายเป็นเท่าไหร่
นักวิจัยกล่าวว่า ลักษณะ telomeres
ของคนแต่ละวัยนั้นจะมีสภาพแตกต่างกันออกไป โดยคนวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะมี
telomeres ที่มีขนาดยาวกว่า และจะสั้นลงเรื่อยๆ
เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นซึ่งการที่ telomeres สั้นลงเรื่อยๆ
นี้เองมีผลทำให้เกิดความเสื่อมต่างๆ ขึ้นในร่างกาย
ผลสรุปจากการวิจัยซึ่งทำร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจและ
มหาวิทยาลัยนิวเจอร์ซีนี้ระบุว่าคนที่หมั่นออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหว
ร่างกายและกระฉับกระเฉงกว่าจะมี telomeres
ที่ยาวกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยกว่า
ผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการด้านอายุรเวช the archives of
internal medicine
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบหาสิ่งต่างและสิ่งที่
เหมือนกันระหว่างอาสาสมัครที่เป็นคนแฝดซึ่งมีอายุโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 50 ปี
จำนวนทั้งสิ้น 2,400 คน และโดยมากเป็นอาสาสมัครผู้หญิง
ซึ่งมีอายุต่างกันไปตั้งแต่ 18 ถึง 81 ปี แต่อายุเฉลี่ยของอาสาสมัครอยู่ที่
50 ปี
ในขั้นตอนหนึ่งของการทำวิจัยนั้น ศาสตราจารย์ ทิม สเป็คเตอร์ และ ดร.ลินน์
เชอร์กาส จากมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ และศาสตราจารย์ อับราฮัม อาวีฟ
จากโรงเรียนแพทย์นิวเจอร์ซี
ได้ให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับปริมาณการออกกำลังกายของพวกเขาในช่วง
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้แล้วผู้ตอบแบบสอบถามยังต้องระบุด้วยว่าเป็นคนที่สูบบุหรี่ด้วยหรือ
เปล่า มีดัชนีมวลกายเท่าไหร่ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในระดับใด
หลังวิเคราะห์และประมวลผลออกมาแล้วพบว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างระหว่างขนาด
ของ telomeres ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว
และปริมาณการออกกำลังกายของกลุ่มประชากรตัวอย่างและความสัมพันธ์กันของทั้ง 3
สิ่งนี้ยังมีนัยสำคัญอยู่ถึงแม้ว่าจะปรับด้วยปัจจัยเรื่องการสูบบุหรี่
ดัชนีมวลกาย และระดับสังคมของกลุ่มตัวอย่างแล้วก็ตาม
และด้วยเหตุผลที่ว่ายีนส์ก็มีอิทธิพบต่อขนาดของ telomeres
นักวิจัยจึงได้ทำการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบยีนส์ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็น
แฝดเหมือนในกลุ่มที่เล็กลงมาด้วย
ซึ่งพบว่าคู่แฝดเหมือนมียีนส์เหมือนกันแต่มีขนาด telomeres
ต่างกันไปตามระดับการออกกำลังกาย
ที่มา : สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ภาพประกอบ : www.thaihealth.or.th
ภาพประกอบ : www.thaihealth.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น