วิจัยโอสถชี้สารจากหัวปลี เจ๋ง ลดอักเสบในกระเพาะอาหาร


มีราคาถูก  ผลกระทบข้างเคียงน้อย

          ช่วง ฤดูฝน.....พืชท้องถิ่นส่วนใหญ่จะแตกดอกออกผลเพื่อให้เก็บเกี่ยวกิน หรือบางอย่างบางชนิดก็ไม่ต้องรอฤดูกาล.....อย่างเช่นต้นกล้วยที่ให้ผลผลิต กันทั้งปี

          กล้วย...ใน บางครั้งก็สร้างความแปลกประหลาด อย่าง หัวปลีแฝด 3 หัว ของ นายสุกิจ นาแดงหงส์ทวี วัย 72 ปี ที่สวนหลังบ้านเลขที่ 343 หมู่ 8 ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา...ก็ทำให้ชาวบ้านพากันแห่มาหาเลขเด็ด

          หรือ ปลี 2 หัวของ กล้วยน้ำว้า โผล่ขึ้นจากดิน ณ บ้านขอนอ้าปาก หมู่ 10 ต.บ้านไร่ อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก....ชาวบ้านแตกตื่นแห่ไปขอโชคลาภเช่นกัน (แต่ในข่าวไม่ได้บอกว่ารวยกันหรือไม่)

          หัวปลี”.....คือ ดอกของกล้วยลักษณะยาวเรียวกลีบห่อหุ้มผล จะนำไปประกอบอาหารหลากหลายชนิด นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยนำมารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร

          นาง สาวสิรดา ศรีหิรัญ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำหัวปลีเข้าสู่งานวิจัยในครั้งนี้บอกว่า.... ทำการศึกษาด้วยการนำสารสกัดจากยางของหัวปลี มาใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวพันธุ์ wistar จนได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ

          กลุ่มแรกชักนำให้เกิดแผลในกระเพาะหนูด้วย absoluteethanol ทำให้...แล้วใช้ สารสกัดจากหัวปลีในปริมาณ 400, 800 และ 12,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จึงนำกระเพาะอาหารออกมาตรวจสอบ ผลพบว่า แผลในกระเพาะอาหารลดลง ที่ 4.34+0.17, 3.44+1.65 และ 1.46+1.14 ตามลำดับ

          และ เมื่อ นำมาเปรียบเทียบกับการรักษาแผลในกระเพาะหนู ด้วยการควบคุมที่ใช้น้ำมันข้าวโพด 0.5 มิลลิลิตร (อันเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการบำบัดแผลในกระเพาะหนู) ผลการทดลองสามารถป้องกันแผลในกระเพาะอาหารได้ 63.22, 71.19 และ 87.63% ตามลำดับ

          อีกกลุ่มมีการชักนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยการ ใช้ยากลุ่ม nsaids หรือ แอสไพริน...แล้วใช้สารสกัดจากหัวปลี ในปริมาณ 400, 800 และ 12,000 ต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับครั้งแรก ทิ้งไว้ในระยะเวลา 4 ชั่วโมง

          เมื่อนำมาตรวจสอบพบว่า สารสกัดจากหัวปลีทำให้แผลในกระเพาะอาหารลดลง จาก 2.59+1.00 ในกลุ่มควบคุมเป็น 1.35+0.48, 1.06+0.28 และ 0.70+0.33 ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สามารถป้องกันแผลในกระเพาะอาหารได้ 47.88, 59.07 และ 73.13%

          และ...กลุ่ม สุดท้ายหนูที่เกิดแผลในกระเพาะอาหารจากความ เครียด ที่ถูกนำไปใส่ในกรงรูปทรงกระบอก ควบคุมอุณหภูมิที่ 4 องศาเซลเซียส 4 ชั่วโมง จากนั้นให้สารสกัดเข้าไปในอัตราเดิม ผลปรากฏว่าสามารถควบคุมและป้อง กันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ 45.41, 65.27 และ 86.17%

          จาก การศึกษาข้อมูลทั้งหมดนี้ ก็สรุปได้ว่าแผลในกระเพาะอาหารใน 3 รูปแบบ สามารถใช้สารสกัดแอลกอฮอล์หรือเอทานอล จากปลีกล้วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้...

          ...งาน วิจัยชิ้นนี้เป็นการสร้าง ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เข้าสู่ทางเลือก เพื่อประโยชน์ในอนาคต ในการที่จะนำเอาพืชท้องถิ่นมาพัฒนาเป็น ยารักษาโรค.....ซึ่งมีราคาถูกและ ผลกระทบข้างเคียงน้อยที่สุด...!!!

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น