ผู้
ป่วยเบาหวานจะมีอายุสั้นกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน เฉลี่ยประมาณ 10-15 ปี
สาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยเบาหวานคือ
หัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน
ปัจจัย
เสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่ การสูบบุหรี่
ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ไม่ออกกำลังกาย ไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวานถึง
2-3 เท่า เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีปัจจัยเสี่ยงมากมายในการเกิดโรคดังกล่าว
โรค
หัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานป้องกันได้
ถ้าเคร่งครัดต่อการปฏิบัติตัวต่อสุขภาพ
ในอนาคตผู้ป่วยเบาหวานจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดน้อยลง
โรค
เบาหวานทำให้ไขมันในเลือดผิดปกติ คือ
มีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และดับเอช-ดี-แอล คอเลสเตอรอล
(คอเลสเตอรอลชนิดดี) ในเลือดต่ำ
โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยเบาหวานจะมีความดันโลหิตสูงมากกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 2 เท่า
โดยเฉพาะถ้าเป็นเบาหวานลงไตแล้ว จะพบความดันโลหิตสูงได้บ่อยมากนอกจากนี้
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเอง ก็มีผลทำให้หลอดเลือดแดงตีบตันได้
ผู้
ป่วยเบาหวานจะป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคหัวใจขาดเลือดได้
โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาดควบคุมอาหาร
เลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลน้อย งดเครื่องดื่มและอาหารที่มีรสหวาน
ควบคุมปริมาณอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว และจากการสำรวจ
พบว่าข้าวกล้องมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มน้อยกว่าข้าวขัดขาว
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขาหมู หนังสัตว์ เครื่องใน หอยนางรม ไข่แดง
เป็นต้น
ควรรับประทานอาหารประเภทผักและถั่วให้มากและรับประทานผลไม้พอประมาณ
หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม กรณีที่มีความดันโลหิตสูง นอกจากนี้
ควรรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ
ผู้
ป่วยเบาหวานควรมีระดับไขมันแอล-ดี-แอล คอเลสเตอรอล (คอเลสเตอรอลชนิดร้าย)
กว่า 150 มก./ดล. ระดับความดันโลหิตควรน้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท
ระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหารควรจะน้อยกว่า 120 มก./ดล.
และน้ำตาลเฉลี่ยหรือน้ำตาลสะสมในเลือด (ฮีโมโกลบิน เอ-วัน-ซี) ควรน้อยกว่า
7.0%
ผู้ป่วยบางรายที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างอาจจะต้องรับประทานแอสไพรินขนาดเล็กร่วมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ที่มา : โรงพยาบาลราชวิถี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น