แนะ! กินผัก ผลไม้หลากสีช่วยเพิ่มแคลเซียม


          อาหาร กับนักกีฬาและผู้รักการออกกำลังกายที่เน้นพืช ผักที่เป็นธรรมชาติ เน้นสลับสีที่มีสีส้ม สีแดง สีเหลือง สีเขียว หรือแม้กระทั่งสีม่วงนั้นบางคนไม่ชอบทาน อย่าลืมว่าสีต่างๆเหล่านี้ธรรมชาติสร้างมาให้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่าง กายทั้งสิ้น

          เพราะ ขณะที่เราทำอะไรก็ตามที่ใช้แรงกาย ใช้ความเครียดผิดจากธรรมชาติที่มนุษย์สร้างมา เช่น อดนอน นอนดึก หรือกินสารที่เป็นพิษกับร่างกาย เช่น สุรา เบียร์ หรือพวกที่สูบบุหรี่ ก็มีผลทำให้เซลล์ไม่รู้จักไม่คุ้นเคยกับสารพิษเหล่านี้ เพราะร่างกายไม่ได้สร้างสารเหล่านี้ขึ้นมา ร่างกายมองว่าเป็นสารพิษสารแปลกปลอมก็เลยเกิดเป็นอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกาย

          แม้ กระทั่งการออกกำลังกายที่มากเกินไป ถึงแม้เราจะบอกว่าการออกกำลังกายดีแน่ๆ แต่ถ้าหนักหนาสาหัสมากเกินไป เช่น ออกกำลังกายวันหนึ่ง 8-9 ชั่วโมง ก็มีผลทำให้ร่างกายสร้างอนุมูลอิสระมากกว่าที่เราต้องการได้เช่นเดียวกัน

          ทุกอย่าง ในโลกนี้ต้องใช้หลักปรัชญาพอเพียง คือสายกลางเป็นดีที่สุด ทุกอย่างถ้าอะไรเกินไปก็จะมีข้อเสียจนกระทั่งเราจัดการในร่างกายไม่ได้ ถ้าน้อยเกินไปก็เฉา ฉะนั้นเอาพอดีๆนะครับ การทานผักสีต่างๆ พวกสีเหลืองจากฟักทอง ข้าวโพด สีส้มแครอท สีม่วง เช่น กะหล่ำปลีม่วง แม้กระทั่งสีเขียวพวกผักคะน้า ม็อคคารีที่กำลังฮิตน้ำคลอโรฟิลด์ ซึ่งน้ำคลอโรฟิลด์ก็คือสีเขียวนั่นเอง แต่ไปตั้งชื่อให้เก๋ไก๋ ชาวบ้านไม่รู้ว่าอะไรกันแน่ ผักทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นผักสีเขียว สีส้ม สีแดง สีม่วง ล้วนเป็นสารที่ต้านอนุมูลอิสระทั้งสิ้น

          นัก กีฬาจึงควรกินพวกนี้มากๆ เช่น วันนี้กินสีเหลือง พรุ่งนี้สลับกินสีเขียว สีม่วงบ้าง เวลาสั่งอาหารตามสั่งก็บอกแม่ค้าเอาข้าวราดผัดผักรวมก็จะมีหลายสีผสม อันนี้เป็นวิธีการที่จะช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกาย ที่ธรรมชาติสร้างสิ่งที่แก้ไขซึ่งกันและกันให้มาแล้ว แต่มนุษย์เองไม่กิน ไม่ใช้ธรรมชาติ กลับไปเลือกใช้อาหารเสริมซึ่งไม่มีอะไรดีกับร่างกายเท่ากับธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกิน

          แม้ กระทั่งแคลเซียมที่นักกีฬาต้องการก็มีจากธรรมชาติ เช่น การกินน้ำซุปต้มกระดูก ปลาตัวเล็กตัวน้อย นม ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ต่างๆ เป็นต้น แม้แต่ชาวอีสานที่กินปลาร้า ลองนึกดูว่าปลาร้ากว่าจะได้มาต้องเอาปลาไปหมัก กระดูกก้างปลาก็ต้องหมัก ปลาร้าจึงมีกระดูกก้างปลาเต็มไปหมด จึงเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียม ฟอสฟอรัสตามธรรมชาติ เพราะสารจากการหมักการดอง เกลือแร่พวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะเป็นโลหะ ซึ่งปลาร้าในปัจจุบันที่ทำเป็นซองขายมีการฆ่าเชื้อเรียบร้อย สามารถส่งออกได้

          เช่น เดียวกับกะปิเวลาทำน้ำพริกปลาทู กะปิทำจากเคยที่เป็นสัตว์เล็กๆที่มีเปลือกหุ้มอยู่ กุ้งแห้งก็กินเปลือกกุ้งแห้ง แคลเซียมทั้งนั้น แต่อาจจะน้อยกว่าก้างปลา พวกเปลือกที่หุ้มอยู่ภายนอกมีแคลเซียมน้อยกว่า แต่ก็ยังดีกว่าอยู่เปล่าๆ

          เห็น ไหมครับเรื่องผัก ผลไม้หลากสีล้วนมีแคลเซียมจากธรรมชาติทั้งนั้น แม้กระทั่งเกลือแร่ซึ่งมีผู้ถามเสมอว่าต้องกินน้ำเกลือแร่หรือเปล่าเวลาออก กำลังกายแล้วเสียเหงื่อ ผมบอกตรงๆเลยว่าเกลือแร่ในร่างกายมีการเก็บสะสมไว้พอเพียงให้เราใช้ออก แรงกลางแดด จึงอยากให้กินน้ำผลไม้มากกว่า เพราะในน้ำผลไม้มีเกลือแร่ครบเพียงพอเท่าเทียมกับน้ำเกลือแร่ แถมในน้ำผลไม้ยังมีวิตามินเพิ่มมากขึ้นอีก มีสารเอนไซม์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ สีส้ม แดง เขียว ฯลฯ

          สรุป ว่าอาหารของนักกีฬาควรทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ ข้าวซ้อมมือ หัวเผือก หัวมัน ผลไม้หลากสีต่างๆให้ครบ เพื่อไปป้องกันหรือต่อสู้จากตัวอนุมูลอิสระซึ่งเปรียบเป็นเซลล์เกเร ร่างกายต้องการแคลเซียมและเกลือแร่เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ต้องขยับใช้งานได้ กล้ามเนื้อถูกสั่งการโดยสัญญาณไฟฟ้าจากสมอง สมองสั่งสัญญาณไฟฟ้ามาให้เราขยับแขน ขยับขา งอแขน งอเข่าในการวิ่งและเล่นกีฬา สัญญาณไฟฟ้ามาตามเส้นประสาท จากสมองลงมาที่คอ มาที่หัวไหล่ ลงมาที่ขา ลงไปที่กล้ามเนื้อทุกมัด ไฟฟ้าที่มาจะไปเปลี่ยนแปลงตรงจุดที่จะเข้าสู่กล้ามเนื้อโดยอาศัยสารหลายๆตัว รวมทั้งเกลือแร่ด้วย เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม ไปสั่งการให้เกิดการบีบ คลาย หดของกล้ามเนื้อ

         เห็น ไหมครับว่าเราต้องการไฟฟ้า เกลือแร่และสารต่างๆที่หลั่งจากเส้นประสาทจะไปสั่งกล้ามเนื้อให้ทำงาน บีบ คลาย หด เราจึงเกิดการขยับไปมาเหมือนที่เป็นอยู่โดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่ถ้าขาดเกลือแร่เมื่อไหร่อาการผิดปรกติต่างๆจะเกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้างตาม สภาวการณ์

          คราว นี้พอจะนึกภาพออกหรือยัง รวมทั้งอาหารที่จะช่วยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเสียหาย จึงควรทานอาหารหลากหลาย ไม่ใช่เน้นอะไรบางอย่าง เช่น ความเชื่อเรื่องโปรตีน คนที่ออกกำลังกายโดยทั่วไปมักถูกสอนให้เชื่อว่าต้องกินโปรตีนเยอะหน่อย ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง โปรตีนเองร่างกายไม่ต้องการมากนัก ยกเว้นในช่วงวัยเด็กและเข้าสู่วัยกำลังเติบโต (growth frist) คือ ระหว่าง 11 ปีครึ่ง-17 ปี ที่ร่างกายต้องการความสูงใหญ่อย่างรวดเร็ว ต้องการสร้างกล้ามเนื้อตามกระดูกที่ยาวขึ้นๆ จึงจำเป็นต้องการโปรตีนมากกว่าคนธรรมดา แต่ไม่ได้มากมาย

          คน ทั่วไปต้องการโปรตีนเฉลี่ยแล้วคิดเป็นน้ำหนักของเนื้อสัตว์ ซึ่งนักโภชนาการจะพูดเป็นมิลลิกรัม แต่เราพูดเป็นขีด คือคนธรรมดาทั่วไปหรือวัยกลางคนต้องการโปรตีนไม่เกินวันละ 3 ขีด รวม 3 มื้อ เอาเนื้อหมู ปลา เป็ด ไก่ มาผสมรวมกันแล้วนับรวมกันไม่เกิน 3 ขีด ถ้าเด็กต้องการเพิ่มอีก 1 ขีด คือไม่เกิน 4 ขีด เราต้องการเพียงแค่นี้ใน 1 วัน เด็กก่อนอายุ 25 ปีอาจต้องการถึง 4 ขีดต่อวัน แต่เลย 25 ปีไปแล้ว 2-3 ขีดก็เพียงพอ

          สำหรับ คนสูงอายุ 2 ขีดก็พอแล้ว เพราะถ้าเยอะไปร่างกายจะไม่ต้องการเก็บเอาไว้ สะสมไม่ได้ด้วย ต้องทิ้งออกให้หมดจากร่างกาย มิฉะนั้นจะกลายเป็นสารตกค้างยูริกแอสิดที่ร่างกายไม่ชอบ เป็นของเสียไปอีก

 ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น